ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 12 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

เมื่อถูกดำเนินคดีข้อหาชิงทรัพย์ และช่องทางการต่อสู้คดี

                  ความผิดฐานชิงทรัพย์ คือ การลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือเพื่อยึดถือทรัพย์นั้นไว้ หรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339  ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกดำเนินคดีไม่ว่าจะถูกแจ้งความดำเนินคดี หรือถูกฟ้องคดีต่อศาลในข้อหาชิงทรัพย์  ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องรีบปรึกษาทนายความทันทีเพื่อทำการประมวลข้อเท็จจริงว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่ และต้องให้ทนายความทำหน้าที่ถามค้านพยานโจทก์ในกรณีผู้เสียหายแต่งตั้งทนายฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ หรือให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเพื่อหาทางในการตั้งรูปคดีให้ได้รับความเป็นธรรมต่อไป  หากไม่มีทนายความคอยช่วยเหลืออาจถูกศาลประทับฟ้องและส่งผลทำให้ต้องเดือดร้อนยื่นเรื่องประกันตัวต่อศาล โดยในความเป็นจริงข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นอาจมีช่องทางการต่อสู้คดีหลายรูปแบบ เช่น ไม่ได้เอาทรัพย์ไปโดยตัดกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์นั้น ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่มีการประทุษร้าย ระยะเวลาการใช้กำลังหรือขู่เข็ญ การกระทำดังกล่าวไม่มีเจตนาพิเศษ เป็นต้น  เพราะฉะนั้นการเจรจาต่อรองหรือการกระทำอย่างใดในเชิงคดีควรปรึกษาทนายความเสมอ  By www.siaminterlegal.com