ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คดีต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงคดีอาญา และการรับรองให้อุทธรณ์ รับรองให้ฏีกาคดีอาญาทำอย่างไร

                   เมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาตัดสินคดีอาญาแล้วอาจมีคู่ความที่ไม่พอใจในผลของคำพิพากษาและต้องการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาต่อไป  แต่การยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาอาจถูกต้องห้ามไม่อาจทำการยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาต่อไปได้ตามกฎหมาย  โดยจำต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาจากการหาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญในกฎหมายเรื่องการอุทธรณ์ฏีกามาดำเนินการต่อไป  ซึ่งคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกามีหลายกรณี เช่น ห้ามมิให้อุทธรณ์ในคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  เว้นแต่จะรับรองให้อุทธรณ์ หรือจำเลยอุทธรณ์ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 193 ทวิ และ 193 ตรี)  กรณีคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าลงโทษจำคุกเกิน 5 ปี ห้ามเฉพาะโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่จะมีการรับรองให้ฏีกา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 และมาตรา 221)  กรณีคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษไม่เกินนี้ เว้นแต่จะมีการรับรองให้ฏีกา หรือจำเลยฏีกาในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 และมาตรา 221) หรือคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง เว้นแต่จะรับรองให้ฏีกา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 และมาตรา 221)  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิพากษาตัดสินคดีแล้วไม่ใช่ว่ายื่นอุทธรณ์หรือฏีกาได้ในทุกกรณี แต่จำต้องมีการศึกษาเงื่อนไขตามกฎหมายและศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพื่อหวังผลให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีการับอุทธรณ์หรือรับฏีกาไว้พิจารณาต่อไป  นอกจากนี้ทนายความยังต้องมีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถที่จะเขียนอุทธรณ์หรือเขียนฏีกาให้เป็นไปตามกฎหมายอีกด้วย  โดยหากดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยไม่ถูกทางหรือเขียนอุทธรณ์ฏีกาไม่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายศาลก็จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฏีกาไว้พิจารณาและส่งผลทำให้คำพิพากษาศาลเดิมเป็นที่สุดอันเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ตัวความที่อาจต้องถูกจำคุกได้  By www.siaminterlegal.com