ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

เมื่อถูกฟ้องว่ากระทำความผิดอาญาควรรับสารภาพหรือไม่

เมื่อถูกฟ้องว่าได้กระทำความผิดอาญาไม่ว่าจะเป็นพนักงานอัยการฟ้องหรือให้ทนายความฟ้องร้องเอง ศาลจะสอบถามว่าจะให้การอย่างไรซึ่งหมายถึงจะรับสารภาพหรือปฏิเสธ ดังนั้นประเด็นเรื่องการให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อรูปคดีทั้งสิ้น โดยหากให้การรับสารภาพศาลจะมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามกฎหมายและพิพากษาลงโทษจำเลยค่อนข้างแน่นอน แต่หากให้การปฏิเสธศาลจะต้องให้มีการสืบพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์จำเลยก่อนมีคำพิพากษาตัดสินคดี และหากสืบพยานแล้วเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดจะพิพากษายกฟ้อง แต่หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยทำผิดจริงจะพิพากษาลงโทษจำเลย  ดังนั้นประการแรกต้องพิจารณาก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงดั่งที่โจทก์ฟ้องมาหรือไม่ หากไม่ได้กระทำความผิดก็ไม่ควรให้การรับสารภาพซึ่งนั่นหมายถึงต้องถูกพิพากษาลงโทษอย่างแน่นอน ส่วนจะลงโทษหนักเบาเพียงไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่หากไม่ได้ทำผิดจริงหรือกรณีพยานหลักฐานของโจทก์ไม่เพียงพอไม่สามารถพิสูจน์ความผิดได้ก็ต้องพิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยไป โดยในทางปฏิบัติจำเลยจะให้การปฏิเสธไว้ก่อนเพื่อให้ทนายความพิจารณาพยานหลักฐานที่มีก่อนว่ามีเพียงพอเอาผิดรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ และตามกฎหมายจำเลยมีสิทธิจะให้การอย่างไรหรือไม่ให้การก็ได้หรือจะกลับคำให้การในภายหลังก็ได้เช่นเดียวกัน  ดังนั้นเมื่อถูกจับแล้วไม่ควรให้การรับสารภาพในทันที แต่ต้องติดต่อทนายความเพื่อตรวจสอบพยานหลักฐานรวมทั้งข้อต่อสู้ต่างๆ ก่อนพิจารณาว่าจะให้การอย่างไร หากให้การรับสารภาพในทันทีผู้ต้องหาจะถูกนำตัวไปส่งศาลพิพากษาทันทีและถูกลงโทษในทันทีเช่นเดียวกัน  ซึ่งตามกฎหมายผู้ต้องหาสามารถติดต่อทนายความและให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนได้  เนื่องจากการทำงานของตำรวจมักจะพูดจาโน้มน้าว ชักจูง หรือทำร้ายร่างกายให้การรับสารภาพเป็นประจำ กฏหมายจึงกำหนดให้ผู้ต้องหาสามารถให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนได้