ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

การดำเนินคดีเช็คทางอาญา

           พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 กำหนดว่าผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

           (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

           (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

           (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี อันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

           (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

           (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

            ซึ่งความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ ดังนั้น ผู้เสียหายจึงต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายในอายุความ 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด หรือต้องรีบฟ้องคดีภายในอายุความ 3 เดือนดังกล่าว  มิเช่นนั้นคดีขาดอายุความไม่อาจดำเนินคดีได้  ซึ่งมีบริษัทหลายแห่งที่ไม่มีที่ปรึกษากฎหมายและไม่ทราบเรื่องกฎหมายดังกล่าวและต้องเสียสิทธิในการดำเนินคดีอาญาและสูญเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆ อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และคดีเช็คดังกล่าวในทางปฏิบัติยังมีเงื่อนไขและเงื่อนแง่ที่สำคัญในการระงับคดีหรือเพื่อให้ขาดองค์ประกอบความผิดหลายประการ ดังนั้นผู้ประกอบการต่างๆ ควรศึกษากฎหมายดังกล่าวให้ท่องแท้เนื่องจากในแวดวงธุรกิจต้องสัมผัสกับกฎหมายดังกล่าวเป็นประจำ  By www.siaminterlegal.com