ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 2 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

เมื่อถูกจับกุมหรือฟ้องคดีควรรับสารภาพหรือปฏิเสธ

                ในการดำเนินคดีอาญานั้นเมื่อผู้ต้องหาถูกจับกุมดำเนินคดีย่อมมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะให้การอย่างไร กล่าวคือ จะให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธ โดยหลักกฎหมายแล้วผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ต้องหาอาจใช้ยันเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้  และในขณะเดียวกันผู้ต้องหาก็มีสิทธิที่จะกลับคำให้การเสียใหม่ก็ได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายให้เสรีภาพผู้ต้องหาในการให้การค่อนข้างมาก แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่าการให้การอย่างไรเช่นไรจะถือว่าเป็นประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการให้การกลับไปกลับมาทั้งที่มีสิทธิกระทำได้ก็ตามแต่อาจถูกศาลมองว่าจำเลยมีพิรุธและกำลังโกหกย่อมเป็นผลร้ายแก่ผู้ต้องหาเอง  โดยในทางปฏิบัติในวันส่งผู้ต้องหาฟ้องต่อศาลศาลก็จะอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังและถามว่าได้กระทำความผิดจริงหรือไม่จะให้การอย่างไร ซึ่งหากให้การรับสารภาพไปศาลจะมีคำพิพากษาทันที  ซึ่งหากผลการตัดสินดังกล่าวจำเลยไม่พอใจผลคำพิพากษาการที่จำเลยจะมาเปลี่ยนคำให้การใหม่เป็นให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีก็เป็นเรื่องยากที่จะรับฟังได้ ซึ่งในวันฟ้องขณะนั้นจำเลยไม่มีทนายความคอยให้การช่วยเหลือและให้คำปรึกษาจำเลยก็ควรให้การปฏิเสธไปก่อนเพื่อไปพบและปรึกษาทนายความว่ามีหนทางต่อสู้คดีหรือไม่อย่างไร และการให้การอย่างไรจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับรูปคดี หากทนายความเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ค่อนข้างมีหนักแน่นรัดกุมแล้วก็สามารถให้การปฏิเสธในภายหลังได้ อีกทั้งยังจะทำให้คดีไม่จบลงในเวลารวดเร็วส่งผลทำให้ทนายความเวลามีตรวจสอบพยานหลักฐานและมีเวลาจัดทำคำร้องประกอบคำรับสารภาพซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการบรรยายให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงและความจำเป็นต่างๆ เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยและกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยได้อย่างเหมาะสม มิเช่นนั้นจำเลยอาจถูกจำคุกไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและการรับสารภาพของตนเอง  เพราะฉะนั้นขั้นตอนตั้งแต่ขณะถูกจับกุม ถูกสอบสวน จนกระทั่งฟ้องคดีต่อศาลท่านควรต้องปรึกษาทนายความก่อนให้การประการใดทุกครั้งเพื่อประโยชน์แก่รูปคดีและเสรีภาพของตนท่านเอง  By www.siaminterlegal.com