ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ระวังการล่อลวงทำสัญญาและถูกฟ้องคดีเพราะเชื่อใจ

              เรื่องนี้เกิดขึ้นจากเรื่องจริงที่มีลูกความที่ถูกฟ้องคดีผิดสัญญาซื้อขายสินค้ามูลค่าสิบกว่าล้านบาทมาติดต่อขอคำปรึกษาและว่าจ้างให้ดำเนินคดีแก้ต่างในฐานะจำเลย  ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเคยเป็นเซลล์ขายสินค้าให้โจทก์ ต่อมาโจทก์สั่งซื้อสินค้าไม่ได้มาตรฐานมาขาย จำเลยในฐานะเซลล์ขายอย่างไรก็ขายไม่ออกเพราะสินค้านั้นไม่ได้คุณภาพ ค่าคอมมิสชั่นก็ไม่ได้เพราะขายไม่ได้ จำเลยจึงแอบไปเปิดบริษัทเองและไม่ขายสินค้าให้โจทก์อีกต่อไปเพราะสินค้าขายไม่ได้ แต่โจทก์ได้พยายามติดต่อและล่อลวงให้จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพนี้ โดยกล่าวอ้างว่าเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะไม่ทิ้งโจทก์ไปและต้องขายของให้โจทก์อีก ซึ่งโจทก์พูดรับรองว่าจะไม่นำสัญญามาฟ้องคดีต่อศาล จำเลยก็เชื่อจึงลงชื่อในสัญญาไป ท้ายสุดโจทก์นำสัญญามาฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายและเรียกร้องค่าสินค้ามีมูลค่ากว่าสิบล้านบาท ซึ่งได้มีการต่อสู้คดีกันจนศาลมีคำสั่งยกฟ้องและให้จำเลยชนะคดี  ในประเด็นดังกล่าวนี้เห็นว่าอำนาจของนายจ้างในฐานะผู้มีเงินมีทองมากมายก็จะอาศัยอำนาจและบารมีพูดจาล่อลวงให้คนอื่นเซ็นต์สัญญาได้ และความจริงก็เกิดขึ้นในสังคมไทยจำนวนมาก และสัญญาที่ทำกันก็เป็นพยานเอกสารสำคัญที่รับฟังได้อย่างหนักแน่นด้วย การที่จะนำสืบหักล้างให้เห็นว่าสัญญาไม่ผูกพันกันอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ซึ่งทนายความต้องจับประเด็นและตั้งรูปเรื่องให้ถูกต้องและชัดเจนมิเช่นนั้นจะเป็นการเสี่ยงต่อการแพ้คดีค่อนข้างสูง ดังนั้นเมื่อมีใครก็ตามมาพูดจาล่อลวงให้เซ็นต์ชื่อในสัญญาใดๆ ก็ตามท่านจะต้องพิจารณาดูให้ท่องแท้เสียก่อนว่าจะเกิดผลผูกพันทางกฎหมายอย่างไรหรือไม่ และมีอะไรการันตีว่าจะไม่นำมาฟ้องร้องด้วย  อย่าอาศัยแต่ความเกรงใจหรือความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างหรือไม่ว่าด้วยเหตุอะไร มิเช่นนั้นท่านก็จะต้องมาเดือนร้อนรำคาญและมีความเสี่ยงในเรื่องคดีความเช่นเดียวกับคดีนี้  ฝากเตือนและแจ้งอุทหรณ์โดย By www.siaminterlegal.com