ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

พนักงานหรือลูกจ้างยักยอกควรทำอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ

             ปัญหาเรื่องพนักงานหรือลูกจ้างแอบเอาเงินของนายจ้างไปนั้นเกิดขึ้นบ่อยมาก นายจ้างบางแห่งก็ไม่มีที่ปรึกษากฎหมายและเสียเปรียบลูกจ้างที่มีความรู้อยู่เป็นประจำ ตัวนายจ้างเองก็ต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอว่ามีการทุจริตภายในองค์กรหรือไม่ แต่เมื่อทราบว่าพนักงานหรือลูกจ้างมีการเอาทรัพย์สินไปเป็นของตัวเองแล้วก็ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด เมื่อใดบ้าง และรีบไปแจ้งความดำเนินคดีภายใน 3 เดือน หรือให้ทนายความรีบส่งฟ้องดำเนินคดีภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย หากไม่กระทำภายในเวลา 3 เดือนจะมีผลทำให้คดีขาดอายุความและดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดไม่ได้  นายจ้างบางรายไม่รู้เงื่อนแง่ของกฎหมายหรือบางกรณีไม่อยากเสียค่าว่าจ้างทนายความ เมื่อลูกจ้างขอเจรจาชำระหนี้โดยการผ่อนผันชำระนายจ้างก็ยินยอมและมีการชำระกันมาบางงวดท้ายที่สุดไม่ชำระ นายจ้างก็จะมาฟ้องคดีอาญาในภายหลังไม่ได้เพราะขาดอายุความไปแล้ว และไม่มีสิ่งใดมาบีบบังคับให้ลูกจ้างชำระหนี้ได้  และต้องมาฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งฐานละเมิดหรือผิดสัญญาว่าจ้างหรือฟ้องผู้ค้ำประกันการทำงาน ซึ่งท้ายที่สุดไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ยึดมาชำระหนี้ได้ นอกจากนี้วิธีการเจรจาและการทำเอกสารต่างๆ ล้วนมีเงื่อนแง่กฎหมายกำหนดอยู่ทั้งสิ้น หากนายจ้างทำไม่ถูกไม่ควรก็ทำให้เกิดผลเสียหายแก่คดีอาญาและคดีแพ่งได้อีกเช่นเดียวกัน และนั่นคือกลโกงบางประการที่ได้กล่าวมาบางส่วน ฉะนั้นนายจ้างยุคใหม่ต้องรู้ให้เท่าทันลูกจ้างด้วยแล้วธุรกิจก็จะไม่มีทางเกิดความเสียหายจากวิธีการโกงโดยชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป  By www.siaminterlegal.com