ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้จัดการมรดกแอบขายหรือเอาทรัพย์มรดกคนเดียวทำอย่างไร

             ผู้จัดการมรดกนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามมาด้วย คือหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดกและนำไปแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย  แต่ในโลกความจริงมีคดีมากมายที่เกิดปัญหาจากการจัดการมรดกของผู้จ้ดการมรดก เช่น ผู้จัดการมรดกไม่ยอมรวบรวมทรัพย์สิน ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งปันทรัพย์สิน ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์สินไม่เท่าเทียมกันหรือไม่เป็นไปตามสัดส่วนทายาทหรือไม่เป็นตามที่ตกลงกัน ผู้จัดการมรดกแอบขายทรัพย์สินเองเงินคนเดียว หรือโยกย้ายทรัพย์สินให้เหลือน้อย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทย ซึ่งสำนักงานฯ เคยกล่าวไว้ในบทความอื่นๆ แล้วว่าเมื่อร้องจัดการมรดกควรจะคัดค้านหรือร่วมจัดการมรดกหรือไม่ในส่วนนี้คงไม่ไปกล่าวถึงอีก  ปัญหาว่าเมื่อผู้จัดการมรดกได้นำทรัพย์มรดกไปแอบขายแล้วเอาเงินที่ขายไปคนเดียว หรือแอบโอนทรัพย์ให้บุคคลอื่นหรือตนเองเพียงผู้เดียวจะทำอย่างไรทางกฎหมาย  การกระทำดังกล่าวถือว่าผู้จัดการมรดกมีเจตนาทุจริตเอาทรัพย์มรดกเพียงคนเดียวย่อมมีความผิดฐานเป็นผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354  และเป็นความผิดอันยอมความได้ด้วย หมายถึง ทายาทผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีข้อหายักยอกดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ด้วย มิเช่นนั้นคดีขาดอายุความ ซึ่งก็คือไม่อาจดำเนินคดีอาญาแก่ผู้จัดการมรดกได้ โดยจะต้องไปฟ้องคดีทางแพ่งเองต่างหาก ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาแล้วผู้จัดการมรดกเองก็คงไม่มีทรัพย์สินใดๆ คงเหลือให้บังคับคดีได้อีกต่อไป กล่าวง่ายๆ คือ ไม่ได้รับทรัพย์มรดกอะไรเลย  ดังนั้นอย่าคิดว่าการจัดการมรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกจะเป็นเรื่องง่ายๆ หากเป็นคนโกงหรือทุจริตโกงพี่โกงน้องเสียแล้วก็คงเป็นเรื่องที่ลำบากมากหากไม่ทราบข้อกฎหมายหรือวิธีดำเนินการทางกฎหมาย  By www.siaminterlegal.com