ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 11 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ขอถอนผู้จัดการมรดกมีหลักเกณฑ์อย่างไร

               เมื่อเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วก็มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทตามกฎหมาย  แต่ก็ใช่ว่าการเป็นผู้จัดการมรดกจะเป็นได้ตลอดไป  คนทั่วไปมักคิดกันว่าเมื่อเป็นผู้จัดการมรดกเปรียบเสมือนเจ้าของทรัพย์มรดกเลยจะทำอย่างไรก็ได้  ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น การมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกจะมาพร้อมหน้าที่คือหน้าที่รวบรวมและแบ่งปันทรัพย์มรดก  ซึ่งในปัจจุบันมีคดีเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้จัดการมรดกมากมาย เช่น ผู้จัดการมรดกไม่ยอมรวบรวมทรัพย์สิน ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งปันทรัพย์สิน ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์สินไม่เท่าเทียมกันหรือไม่เป็นไปตามสัดส่วนทายาทหรือไม่เป็นตามที่ตกลงกัน ผู้จัดการมรดกแอบขายทรัพย์สินเองเงินคนเดียว หรือโยกย้ายทรัพย์สินให้เหลือน้อย เป็นต้น  นอกจากนี้ผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ต้องจัดบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนด้วย  หากเกิดกรณีผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร หรือผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์ภายในเวลาดังกล่าว หรือถ้าบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้หรือศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้แล้วแต่กรณี  ปัญหานี้อย่าได้นิ่งนอนใจเพราะหากผู้จัดการมรดกไม่ยอมทำหน้าที่หรือพยายามทำหน้าที่โดยแอบขายหรือโยกย้ายทรัพย์สินซึ่งร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้ก็จริง หากสำหรับบุคคลภายนอกที่ได้รับโอนมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ย่อมได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน หมายถึงไม่อาจนำทรัพย์มรดกกลับมาสู่กองมรดกได้อีก  ดังนั้นเรื่องการระแวดระวังการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและจำต้องเร่งปรึกษานักฎหมายหรือทนายความในทุกขั้นตอนมิเช่นนั้นอาจไม่ได้รับทรัพย์มรดกเลย  By www.siaminterlegal.com