ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 16 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ถูกจับดำเนินคดียักยอกจะทำอย่างไร และมีช่องทางต่อสู้อย่างไร

                    ความผิดฐานยักยอกคือการได้ครอบครองทรัพย์สินของคนอื่นและเบียดบังเป็นของตนหรือคนอื่น  นอกจากนี้ยังมีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์สินหาย ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดกอีกด้วย  ซึ่งความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความได้  เมื่อถูกดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์ก่อนอื่นผู้ต้องหาต้องใจเย็นและรวบรวมข้อเท็จจริงโดยปรึกษากับทนายความที่ไว้วางใจเสียก่อน  เพราะในความเป็นจริงอาจไม่ใช่ความผิดฐานยักยอกก็เป็นไปได้  เช่น ไม่ได้ครอบครอง ไม่ได้เบียดบัง ได้รับความยินยอม  เจตนาในการกระทำความผิด เป็นต้น และการที่ผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดีหรือฟ้องคดีที่ศาลก็ไม่ใช่บทสรุปว่าเป็นผู้กระทำความผิดทั้งสิ้นเพราะเป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นเท่านั้น  กรณีถูกแจ้งความดำเนินคคีก็ต้องปรึกษาทนายความก่อนว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดหรือไม่ หรือหากเป็นเวลากระชั้นชิดกับวันนัดตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนก็ต้องให้ทนายความทำหนังสือขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนออกไปก่อนเพื่อจะได้มีเวลาสอบข้อเท็จจริงและหาช่องทางการดำเนินคดีได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งการเข้าพบพนักงานสอบสวนก็ต้องให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยทุกครั้งเพื่อเป็นการคานอำนาจและเพื่อให้การดำเนินการของพนักงานสอบสวนเป็นไปอย่างถูกต้องโปร่งใสทุกขั้นตอนอีกด้วย   และหากเป็นกรณีที่ผู้เสียหายมอบหมายให้ทนายความฟ้องคดีต่อศาล เมื่อได้รับหมายศาลก็ต้องปรึกษาทนายความในการจัดเตรียมประเด็นและข้อเท็จจริงในการถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีต่อไปด้วย  หากไม่มีการแต่งตั้งทนายความถามค้านดังกล่าวจะเกิดผลทำให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าเบิกความและไม่มีผู้ถามค้านทำลายน้ำหนักพยานและส่งผลอาจทำให้ศาลมีคำสั่งประทับฟ้องและหมายเรียกจำเลยมาให้การได้  ซึ่งหมายถึงต้องจัดเตรียมเงินประกันตัว และการให้การต่อศาลที่จะตามมาด้วย  แต่หากมีทนายความถามค้านอาจทำให้ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดก็จะพิพากษายกฟ้องไปในทันที ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องบทบาทของทนายความในคดีอาญาสำหรับข้อหายักยอกทรัพย์ By www.siaminterlegal.com