ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 15 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

วิธีทำให้ศาลรอการลงโทษคดีข้อหาลักทรัพย์ รอการลงโทษข้อหาวิ่งราวทรัพย์ รอการลงโทษข้อหาชิงทรัพย์ รอการลงโทษข้อหาปล้นทรัพย์ รอการลงโทษข้อหาฉ้อโกง รอการลงโทษข้อหายักยอก รอการลงโทษข้อหากรรโชก รอการลงโทษข้อหารับของโจร รอการลงโทษข้อหาฉ้อโกงประชาชนทำอย่างไร

                เมื่อจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานวิ่งราวทรัพย์ ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานกรรโชกทรัพย์ ฐานฉ้อโกง ฐานฉ้อโกงประชาชน และฐานยักยอกทรัพย์  ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่โทษจำคุก และศาลต้องวินิจฉัยคดีว่าสมควรลงโทษจำคุกจำเลยหนักเบาเพียงไร  ซึ่งก็ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นสำคัญประกอบด้วย  ดังนั้นหากจำเลยสำนึกในความผิดที่กระทำลงแล้วหากประสงค์กลับตนเป็นพลเมืองดีก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วย กล่าวคือ หากเป็นช่วงเวลาก่อนศาลชั้นต้นตัดสินควรยื่นคำร้องประกอบคำรับสารภาพ หากศาลชั้นต้นตัดสินแล้วก็ยื่นอุทธรณ์ต่อไป

                หลักการเขียนคำร้องประกอบคำรับสารภาพและการเขียนอุทธรณ์ขอให้ศาลรอการลงโทษนั้นมีความสำคัญมาก การที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกหรือให้รอการลงโทษอยู่ที่ข้อเท็จจริงในคดี และการดำเนินการระหว่างคดี และการเขียนคำร้องประกอบคำรับสารภาพหรือวิธีการเขียนอุทธรณ์ประกอบเข้าด้วยกัน  โดยต้องมีการบรรยายข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นเหตุที่ควรได้รับการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เช่น เรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพและสิ่งแวดล้อม สภาพความผิด และเหตุอื่นอันควรปราณี  เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องบรรยายในคำร้องประกอบคำรับสารภาพหรืออุทธรณ์  นอกจากนี้การแถลงประกอบเรียกการไม่ติดใจเอาความของผู้เสียหายก็เป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนมากมักจากปัญหาที่ผู้เสียหายมักเรียกร้องค่าเสียหายจำนวนมากเกินความจริง และไม่อาจตกลงกันได้ ซึ่งฝ่ายจำเลยควรจะต้องทราบว่าปัญหาดังกล่าวนี้จะแก้ไขอย่างไร และจะนำเสนอข้อเท็จจริงใดให้ศาลเห็นเหตุอันควรปราณีให้จำเลยได้รอการลงโทษต่อไป

                 ในคดีความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานวิ่งราวทรัพย์ ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานกรรโชกทรัพย์ ฐานฉ้อโกง ฐานฉ้อโกงประชาชน และฐานยักยอกทรัพย์  แม้เป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกก็ตามแต่ศาลก็สามารถรอการลงโทษได้ หากศาลเห็นข้อเท็จจริงที่บรรยายในคำร้องประกอบคำรับสารภาพหรือในอุทธรณ์ว่ามีเหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หรือมีเหตุข้อเท็จจริงว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีส่วนผิด หรือมีการบรรเทาผลร้าย หรือนำทรัพย์มามอบให้พนักงานสอบสวน หรือมีจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์เล็กน้อย ศาลก็ให้โอกาสจำเลยโดยรอการลงโทษจำเลยได้เช่นกัน  By www.siaminterlegal.com