ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 2 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ศาลไม่ให้ประกันตัวทำอย่างไร อุทธรณ์คำสั่งประกันตัวอย่างไรให้ได้รับประกันตัว ทนายทำเรื่องประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยอย่างไร

               ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ทวิ กำหนดให้ในกรณีที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้  โดยคำสั่งศาลชั้นต้นให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์  คำสั่งศาลของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฏีกา  ประเด็นคือจะดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลไม่ยอมให้ประกันตัวอย่างไรให้ได้รับการประกันตัว  ซึ่งทนายความที่จะดำเนินการร่างอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวดังกล่าวควรต้องอุทธรณ์แสดงเหตุผลให้ชัดเจนเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวด้วย  ซึ่งหลักการแล้วศาลที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัวมักจะอ้างว่า "เกรงว่าจะหลบหนี"  ดังนั้นเหตุผลที่ควรจะนำไปแสดงในอุทธรณ์ให้ศาลเห็นจึงควรเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่หลบหนีแน่ๆ เช่น มีการเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจด้วยตนเองไม่ได้ถูกจับกุมมา หรือมีหน้าที่การงานที่ต้องทำและเป็นหน้าที่อาชีพมั่นคง หรือมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือมีหน้าที่เลี้ยงดูบิดามารดาที่แก่ชราหรือเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ หรือมีหน้าที่การงานตำแหน่งสำคัญเป็นหลักในการประกอบธุรกิจ หรือมีโรคภัยต้องรักษาต่อเนื่อง หรือมีการรับรองความประพฤติที่น่าเชื่อถือว่าจะไม่หลบหนี หรือพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ค้านการประกันตัว หรือมีหลักประกันน่าเชื่อถือและเพียงพอ หรือมีเนื้อหาสาระของคดีไม่เป็นความผิดต่างๆ ที่ถูกกล่าวหา หรือมีพฤติการณ์อื่นๆ ที่เห็นว่าจำเลยไม่น่าจะกระทำความผิดหรือมีเหตุผลว่าจะไม่หลบหนี เป็นต้น  หลักการเขียนอุทธรณ์คำสั่งประกันตัวดังกล่าวล้วนเป็นเรื่องความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล  และการได้รับการประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจศาลเป็นสำคัญประกอบด้วย  By www.siaminterlegal.com