ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 11 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ทนายดำเนินคดีศาลทหาร ทนายต่อสู้คดีศาลทหาร ทหารกระทำความผิดขึ้นศาลทหาร วิธีการดำเนินคดีศาลทหารทำอย่างไร

                พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด  ซึ่งกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีมีความผิดอาญาเกิดขึ้น ความผิดทางอาญานั้นเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นทางอาญา และผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะทำผิดด้วย  และต้องไม่ใช่คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลพลเรือน

                สำหรับการรับมอบตัวเมื่อถูกจับแล้วต้องพิจารณาว่าฝ่ายทหาร (ซึ่งอาจเป็นทหารชั้นสัญญาบัตร) นั้นประสงค์รับตัวทหารในแต่ละสังกัดไว้ควบคุมเองหรือไม่ หากฝ่ายทหารไม่รับผู้กระทำผิดพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป เช่น ฝากขังต่อศาล เป็นต้น

               สำหรับการสอบสวนต้องมีนายทหารพระธรรมนูญหรืออัยการทหาร หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรมาร่วมสอบสวนด้วย และทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่  และส่งสำนวนให้อัยการศาลทหารพิจารณาต่อไป

              การดำเนินการต่อสู้คดีของทหารที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถมีทนายความคอยช่วยเหลือและแก้ต่างคดีได้

              การอุทธรณ์หรือฏีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาปกติ โจทก์ จำเลย ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ หรือผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ  อาจอุทธรณ์หรือฏีกาได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยฟัง  By www.siaminterlegal.com