ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 6 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ศาลอุทธรณ์ตัดสินแต่คดีห้ามฏีกาทำอย่างไร คดีรับสารภาพฏีกาได้หรือไม่ คดีอาญาต้องห้ามฏีกาแก้ปัญหาอย่างไร ขอให้ศาลรับรองหรืออนุญาตให้ฏีกาอย่างไร วิธีการเขียนขอให้ศาลรับรองหรืออนุญาตให้ฏีกาอย่างไร เทคนิคการขอให้ศาลรับรองหรืออนุญาตให้ฏีกาคดีอาญาทำอย่างไร

                ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามคู่ความฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  หากโทษจำคุกเกิน 5 ปี ห้ามโจทก์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  หรือกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดดังกล่าวต่อมาอีก ห้ามมิให้โจทก์และจำเลยฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  หรือกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ห้ามโจทก์และจำเลยฏีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

                 การห้ามฏีกาดังกล่าวข้างต้นเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย การแก้ไขเพื่อจะให้ฏีกาได้ต้องทำคำร้องขอให้ศาลรับรองหรืออนุญาตให้ฏีกา หรือให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฏีกาก่อน  พร้อมกับการยื่นคำฟ้องฏีกา  โดยต้องบรรยายให้ปรากฎข้อเท็จจริงในฏีกาที่ขอให้รับรองว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฏีกา  กรณีดังกล่าวนับเป็นเรื่องที่ยากยิ่งสำหรับการขอให้รับรองหรืออนุญาตให้ฏีกา เนื่องจากผู้พิพากษาที่จะรับรองและอนุญาตให้ฏีกาก็คือผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นั่นเอง  การจัดทำคำร้องขอจะต้องบรรยายเหตุผลให้ศาลเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญอย่างไร หรือขัดกับแนวคำพิพากษาของศาลฏีกาอย่างไร หรือขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอย่างไร หรือมีพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปอันทำให้เห็นว่าควรได้รับการทบทวนการลงโทษโดยศาลฏีกาอย่างไร และการฏีกานั้นต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นต้นไป  By www.siaminterlegal.com