ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 11 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษจำคุกแต่ไม่ให้ประกันตัวทำอย่างไร อุทธรณ์คำสั่งศาลไม่ให้ประกันตัวทำอย่างไร ทนายอุทธรณ์เรื่องประกันตัวอย่างไร

             เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตัดสินจำคุกแล้วและอยู่ระหว่างระยะเวลายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  จำเลยดังกล่าวก็สามารถมีสิทธิที่จะขอประกันตัวต่อศาลชั้นต้นได้  ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้จำเลยประกันตัวได้  โดยเมื่อได้รับประกันตัวไปแล้วจำเลยจะต้องไม่หลบหนี ไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่ไปข่มขู่หรือทำลายพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่ไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นใด ไม่เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพิจารณาคดีของศาล 

             กรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าควรมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่อนุญาตให้ประกันไม่ได้  แต่ศาลชั้นต้นจะส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่ง  หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนไปยังศาลฏีกาเพื่อมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 119 ทวิ (2)  หากศาลฏีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีก จำเลยก็มีสิทธิขอประกันตัวใหม่ได้ตามมาตรา 108/1

             สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ไปยังศาลฏีกานั้นเป็นความรู้ความสามารถของทนายแต่ละคนว่าจะบรรยายอุทธรณ์ในลักษณะใดเพื่อให้ศาลฏีกามีคำสั่งให้ประกันตัวได้  ซึ่งในหลักการจะต้องเป็นการบรรยายอุทธรณ์ว่าพฤติการณ์ของจำเลยไม่เป็นไปตามเหตุในมาตรา 108/1 (1)-(5) เพราะเหตุผลอย่างไร  และต้องบรรยายอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่เคยหลบหนีมาก่อน ไม่เคยผิดสัญญาประกันมาก่อน หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่างไร มีอาการอย่างไร เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือไม่ และหากมีอาการกำเริบจะส่งผลอยางไร และต้องพบแพทย์โดยด่วนหรือส่งผลต่อร่างกายและชีวิตอย่างไร โดยแนบใบรับรองแพทย์ประกอบด้วย หรือจำเลยมีการประกอบอาชีพหรือมีภาระหน้าที่ดูแลทรัพย์สินหรือบุคคลในครอบครัวอย่างไร  หรือหากถูกจำคุกต้องได้รับผลกระทบเสียหายหรือเกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินหรือบุคคลอื่นอย่างไร By www.siaminterlegal.com