ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 16 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

การอุทธรณ์คดีอาญา คดีต้องห้ามอุทธรณ์คดีอาญา ทนายทำอุทธรณ์คดีอาญา ศาลพิพากษาลงโทษต้องการยื่นอุทธรณ์คดีอาญา ศาลยกฟ้องต้องการยื่นอุทธรณ์คดีอาญา การขออนุญาตอุทธรณ์คดีอาญา

                เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตัดสินคดีแล้ว คู่ความไม่ว่าโจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายกำหนด  แต่จะต้องพิจารณาก่อนว่าคดีดังกล่าวตนเองอยู่ในฐานะเช่นไร และคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่  โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  เว้นแต่จำเลยถูกพิพากษาลงโทษจำคุกหรือให้กักขังแทนโทษจำคุก หรือจำเลยถูกพิพากษาให้จำคุกแต่รอการลงโทษไว้ หรือศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือจำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  โดยกรณีดังกล่าวให้เฉพาะจำเลยยังสามารถอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

                ดังนั้น คดีในที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง โจทก์ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น  ส่วนจำเลยยังสามารถอุทธรณ์ได้ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายดังกล่าว  และต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง

                ส่วนประเด็นข้อกฎหมายย่อมสามารถอุทธรณ์ได้เสมอ  แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น เว้นแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย  By www.siaminterlegal.com