ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 10 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ยื่นฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้อย่างไร วิธีต่อสู้คดีโกงเจ้าหนี้ โอนทรัพย์ภายหลังแจ้งความผิดโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหาโกงเจ้าหนี้ทำอย่างไร ความผิดข้อหาโกงเจ้าหนี้เป็นอย่างไร วิธีการอุทธรณ์ฏีกาข้อหาโกงเจ้าหนี้

                  ความผิดในข้อหาโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350  ประเด็นสำคัญข้อหนึ่งคือเจ้าหนี้ต้องใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว  ซึ่งคำว่าใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เช่น การฟ้องคดีเรียกร้องหนี้ทางแพ่ง หรือการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้หากไม่ชำระจะดำเนินคดี  และต้องได้ความว่าลูกหนี้ได้รู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิทางศาลหรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วด้วยอันเป็นเจตนากระทำผิดของจำเลย  โดยการรู้หรือไม่รู้จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แต่ละกรณี เช่น เป็นการโอนระหว่างญาติสนิท ยอดขายมีราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาด พฤติการณ์การรีบขาย พฤติการณ์การตรวจสอบทรัพย์ การรับรู้ภาระหนี้หรือตัวเจ้าหนี้ เป็นต้น  ซึ่งเป็นการกระทำที่มีเจตนาเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

                 ในทางปฏิบัติหากไม่มีการฟ้องคดีแพ่งต่อกัน หรือไม่เคยมีการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามเพื่อดำเนินคดีแก่กันมาก่อน  แต่เป็นเรื่องการโอนยักย้ายทรัพย์ภายหลังจากที่มีการไปแจ้งความร้องทุกข์นั้น  ซึ่งการแจ้งความร้องทุกข์ในข้อหาลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับรองของโจรต่อพนักงานสอบสวน ย่อมนำไปสู่การยื่นฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ  ซึ่งรวมถึงการเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เจ้าหนี้ต้องสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดแทนตัวเจ้าหนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญา  และเจ้าหนี้ในฐานะผู้เสียหายอาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้  การแจ้งความร้องทุกข์จึงถือว่าเป็นการจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว และเป็นเหตุทำให้ผู้ยักย้ายถ่ายโอนทรัพย์หนีหนี้มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้เช่นกัน  www.siaminterlegal.com