ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 15 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

อุทธรณ์คดีค้ามนุษย์ ฏีกาคดีค้ามนุษย์ ทนายทำอุทธรณ์คดีค้ามนุษย์ ทนายทำฏีกาคดีค้ามนุษย์ ช่องทางอุทธรณ์ฏีกาคดีค้ามนุษย์

            การอุทธรณ์ และการฏีกาคดีค้ามนุษย์มีความแตกต่างจากการอุทธรณ์ ฏีกาในคดีอาญาทั่วไป  โดยการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีค้ามนุษย์ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ โดยให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง  และหากศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม คู่ความมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันฟังคำสั่ง  ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาค้ามนุษย์ พ.ศ.2559

           ในกรณีจำเลยไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์ จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ เว้นแต่จำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ขยายระยะเวลาแสดงตน

           ในการอุทธรณ์ คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ มาตรา 193 ตรี ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 ประกอบด้วย

           ส่วนการฏีกาคดีค้ามนุษย์นั้น ผู้ยื่นฏีกาต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฏีกาควรรับฏีกาไว้พิจารณาตามมาตรา 45 โดยยื่นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการยื่นฏีกาผู้ฏีกาต้องแสดงตนด้วยหากไม่ได้ถูกคุมขัง  คำร้องแสดงเหตุฏีกานั้นต้องเป็นเรื่องสำคัญ เช่น เกี่ยวพันประโยชน์สาธารณะ ข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานศาลฏีกา หรือยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฏีกามาก่อน คำพิพากษาขัดกันกับศาลอื่น พัฒนาการตีความกฎหมาย จำเลยต้องโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต การฏีกาจะอาจมีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้ และอื่นๆ  By www.siaminterlegal.com