ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการตอกเสาเข็ม ความเสียหายจากการตอกเสาเข็มใครรับผิดชอบ ตอกเสาเข็มบ้านพังแตกร้าวใครรับผิดชอบ คดีเรียกค่าเสียหายจากการตอกเสาเข็ม การต่อสู้คดีของผู้ว่าจ้างกรณีจ้างผู้รับเหมา ประเด็นอุทธรณ์คดีก่อสร้างตอกเสาเข็ม

                    หลายกรณีที่เกิดปัญหาจากการตอกเสาธงเข็มในการก่อสร้าง  ซึ่งบ่อยครั้งที่พบปัญหาการสั่นสะเทือนแตกร้าวของบ้านหรืออาคารใกล้เคียง  โดยปกติผู้ได้รับความเสียหายมักจะฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายโดยประเมินราคาการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ในราคาปัจจุบัน  การแก้ไขงานที่เป็นไปได้ยากลำบากและมีมูลค่ามูลเกินจริง ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้สอยทรัพย์สินหรือค่าเช่าสถานที่อื่นระหว่างก่อสร้าง หรือค่าเสียหายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตเนื่องจากการถูกสั่นสะเทือน ปัญหากลิ่น ปัญหาเสียงรบกวน การปิดบังทางลมทางแดดต่างๆ หรือบ้านทรุดเอียงแตกร้าว  โดยฟ้องทั้งเจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดินที่ก่อสร้างในฐานะผู้ว่าจ้างผู้รับเหมา และผู้รับเหมางานก่อสร้างให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย  ปัญหาที่ตามมาคือเจ้าของบ้านในฐานะผู้ว่าจ้างต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร และจะตั้งประเด็นในการต่อสู้คดีอย่างไร  เจ้าของบ้านหรือเจ้าของที่ดินในฐานะผู้ว่าจ้างผู้รับเหมาควรวางแผนคดีและตั้งประเด็นต่อสู้ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายกรณีต่างๆ เช่น ต่อสู้ว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ หรือต่อสู้ว่าเจ้าของบ้านเจ้าของที่ดินในฐานะผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่เข้าควบคุมการตอกเสาเข็มของผู้รับเหมา และเป็นคำสั่งให้ปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่คำสั่งในการเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม หรือต่อสู้ว่าการตอกเสาเข็มเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาที่จะต้องใช้วิชาการและความระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือค่าเสียหายไม่มีอยู่จริงหรือเกินจริงหรือไกลเกินกว่าเหตุ หรือต่อสู้ว่าเจ้าของบ้านเจ้าของที่ดินในฐานะผู้ว่าจ้างไม่ใช่เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ให้ไว้แต่อย่างใด และไม่ใช่ตัวการตัวแทนใดๆ  เป็นต้น  By www.siaminterlegal.com