ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

โดนฟ้องข้อหาฉ้อโกงประชาชนทำอย่างไร ข้อหาฉ้อโกงประชาชนเป็นอย่างไร วิธีต่อสู้คดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนทำอย่างไร วิธีอุทธรณ์ฏีกาข้อหาฉ้อโกงประชาชนให้ศาลยกฟ้อง

                         การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้น ลักษณะของการหลอกลวงที่แสดงออกเป็นข้อความเท็จนั้นจะต้องมีเจตนากระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะกระทำโดยการโฆษณาทางสื่อมวลชน หรือป่าวประกาศต่อประชาชนในสถานที่ต่างๆ หรือกระทำด้วยประการใดที่ประสงค์ให้เกิดการแพร่หลายทั่วไปในหมู่ประชาชน หรือแม้แต่เป็นการบอกต่อๆ กันไปปากต่อปาก

                         ดังนั้น การจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นรวมทั้งพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัย  เมื่อถูกฟ้องคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนแล้วก็ใช่ว่าจะเป็นความผิดเสมอไป เนื่องจากผู้ฟ้องคดีอาจประสงค์ตั้งข้อหาที่มีอัตราโทษหนักกว่าความเป็นจริง หรืออาจเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้ฟ้องคดี หรือพนักงานสอบสวนที่เริ่มต้นคดีเอง

                         เมื่อถูกฟ้องคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนทั้งที่ในความเป็นจริงอาจเป็นเพียงความผิดข้อหาฉ้อโกงธรรมดา หรือไม่เป็นความผิดอาญาใดๆ เลยโดยเป็นเพียงความผิดทางแพ่งเท่านั้น  จำเลยก็ควรต้องแสดงพยานหลักฐานในศาลเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว  เนื่องจากข้อหาฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษสูงกว่าข้อหาฉ้อโกงธรรมดา  และหากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเพียงการผิดสัญญาทางแพ่งก็ต้องพิพากษายกฟ้อง หรือหากพิจารณาว่าเป็นความผิดฉ้อโกงธรรมดาแล้วย่อมต้องพิจารณาต่อไปว่ามีการดำเนินคดีหรือแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนตามกฎหมายหรือไม่  และส่งผลทำให้คดีขาดอายุความศาลต้องพิพากษายกฟ้องเช่นเดียวกัน

                         กรณีที่ฟ้องคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนแล้ว และจำเลยไม่ทราบข้อกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ทราบวิธีการดำเนินคดี หรือให้การรับสารภาพไปแล้วจนถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก  วิธีการแก้ไขคือต้องยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาตามระบบของศาล  เพื่อให้ศาลสูงเห็นว่าคดีดังกล่าวเป็นความผิดเพียงการผิดสัญญาทางแพ่ง หรือเป็นเพียงความผิดข้อหาฉ้อโกงธรรมดา ไม่ใช่ข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามที่ศาลชั้นต้นตัดสิน  ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกามีอำนาจพิจารณาปรับฐานความผิดให้ถูกต้องได้ หรือพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง  By www.siaminterlegal.com