ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 12 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ยื่นฏีกาตามกฎหมายใหม่ ทนายยื่นฏีกาตามกฎหมายใหม่ ทนายขออนุญาตยื่นฏีกา เขียนฏีกาคดีแพ่งตามกฎหมายใหม่ ขออนุญาตฏีกาคดีแพ่งอย่างไร ทนายฏีกาคดีแพ่งอย่างไร

              ปัจจุบันมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นฏีกาในคดีแพ่ง โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558  ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ให้การฏีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฏีกา  ดังนั้นการจะยื่นฏีกาได้หรือไม่ต้องทำคำร้องขออนุญาตฏีกาต่อศาล พร้อมฏีกาด้วย  และประเด็นที่ยากขึ้นไปอีกคือประเด็นที่ฏีกานั้นจะต้องเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฏีกาควรวินิจฉัยด้วย เช่น

              1. ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน 

              2. ปัญหาที่เกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฏีกา 

              3. ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฏีกามาก่อน 

             4. ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น 

             5. ปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยของศาลฏีกาจะเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย 

             6. ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์มีความเห็นแย้งในสาระสำคัญ 

             7. ปัญหาที่เกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย 

             การยื่นฏีกาตามกฏหมายใหม่ฉบับดังกล่าวนับได้ว่าเป็นความยากของคู่ความ และทนายความที่จะต้องเขียนฏีกา หรือเขียนคำร้องขออนุญาตฏีกาอย่างไรให้เป็นไปตามกฎหมายและให้เข้าเงื่อนไขหรือองค์ประกอบการยื่นฏีกาดังกล่าวด้วย และปัญหาดังกล่าวส่วนมากล้วนเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในลักษณะดังกล่าวมาก่อน ผู้ยื่นฏีกาและทนายความผู้ทำฏีกาจำต้องมีความรู้ด้านกฎหมายหรือศึกษาแนวคำพิพากษาเดิมๆ จำนวนมากมาแล้วเป็นอย่างดี เพื่อนำมาประกอบการเขียนคำร้องขออนุญาตฏีกาและเขียนฏีกาในทำนองว่าคดีที่เขียนนั้นผิดแผกแตกต่างหรือยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยในประเด็นที่จะฏีกาอย่างไรด้วย   By www.siaminterlegal.com