ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 6 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ควรเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่ ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ แจ้งความแล้วต้องมีทนายหรือไม่ คดีอาญาต้องมีทนายความหรือไม่ อัยการไม่อุทธรณ์ทำอย่างไร

             ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 กำหนดให้ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้  ซึ่งหมายความว่าผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก็ได้  การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการมีผลดีอย่างมาก คือ เป็นการคานอำนาจและตรวจสอบคดีของตนได้โดยปริยายว่าคดีของตนนั้นเป็นไปตามกฎหมายหรือสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่ หรือการดำเนินคดีอาจมีข้อบกพร่องบางประการทนายโจทก์ร่วมก็สามารถเพิ่มเติมหรือสนับสนุนด้านพยานหลักฐาน หรือเพิ่มการซักถามพยานในฐานะทนายโจทก์ร่วมเพื่อให้คดีรัดกุมยิ่งขึ้น หรือทนายโจทก์ร่วมนำพยานบุคคลอื่นๆ เข้าสืบเพิ่มเติม  นอกจากนั้นหากมีความเสียหายทางแพ่งที่จะเรียกร้องเอากับจำเลย ทนายโจทก์ร่วมยังสามารถทำคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งโดยเรียกร้องไปในคดีอาญานั้นได้ด้วย ดังนั้นทนายโจทก์ร่วมจะเป็นทนายทั้งในส่วนคดีอาญา และทนายในส่วนคดีแพ่งดังกล่าว  นอกจากนี้เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินแล้วหากพนักงานอัยการโจทก์ไม่ยอมอุทธรณ์ ทนายโจทก์ร่วมก็สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อไปได้  แต่หากไม่ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมาแต่แรกก็ไม่มีอำนาจอุทธรณ์ใดๆ ต่อไป และคงไม่อาจบังคับพนักงานอัยการให้อุทธรณ์คดีต่อไปได้เช่นกัน  ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวผู้เสียหายเอง และต้องถูกฟ้องกลับฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จอีกด้วย  เหตุผลดังกล่าวคือประเด็นหัวใจสำคัญในการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ  ซึ่งเป็นสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมาย  By www.siaminterlegal.com