ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 9 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ทนายต่อสู้คดีข้อหาฉ้อโกงอย่างไร ประเด็นข้อต่อสู้ในคดีฉ้อโกง โดนฟ้องคดีฉ้อโกงจะต่อสู้คดีอย่างไร ศาลตัดสินให้จำคุกในคดีฉ้อโกงจะยื่นอุท่ธรณ์คดีฉ้อโกงอย่างไร

                    ความผิดข้อหาฉ้อโกงนั้นคือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ  ดังนั้นเมื่อถูกแจ้งความดำเนินคดี หรือถูกฟ้องคดีต่อศาล ท่านต้องพิจารณาเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายข้อหาฉ้อโกงหรือไม่  หากเห็นว่าไม่เป็นความผิดในชั้นสอบสวนก็ต้องให้การปฏิเสธ หรือต้องปฏิเสธในชั้นศาล หรือหากโจทก์ใช้ทนายความยื่นฟ้องก็ต้องแต่งทนายเข้าซักค้านในชั้นไต่สวนมูลฟ้องให้เห็นว่าคดีไม่มีมูลต่อไป  

                   สำหรับประเด็นที่จะใช้ต่อสู้ในชั้นศาล หรือกรณีถูกศาลชั้นต้นตัดสินแล้วก็ต้องตั้งประเด็นยื่นอุทธรณ์ว่าไม่เป็นความผิดอย่างไร เช่น  ข้อเท็จจริงปรากฎว่าผลจากการหลอกลวงตามฟ้องนั้นไม่ได้ทำให้ได้ทรัพย์สินอะไรไป หรือสิ่งของที่ได้ไปนั้นไม่ใช่ทรัพย์สิน เช่น ได้รับการขนส่ง ได้สิทธิต่างๆ หรือได้เข้าเป็นสมาชิก หรือต่อสู้ว่าไม่ได้มีเจตนามาตั้งแต่ต้น หรือข้อความเท็จไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือในปัจจุบัน แต่เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตเท่านั้น หรือมีความเข้าใจว่าตนสามารถกระทำได้ตามสัญญา ระเบียบ ข้อบังคับ หรือตามกฎหมาย โดยเป็นการกระทำไปโดยสุจริต ซึ่งเกิดจากการแปลความไม่ถูกต้องตรงกัน หรือการได้ทรัพย์สินไปไม่ได้เป็นผลเกิดจากการหลอกลวงโดยตรง แต่เป็นการได้ไปตามระเบียบข้อบังคับหรือสัญญา ไม่ใช่ผลจากการหลอกลวง หรือเป็นการลงทุนในสัญญาเก็งกำไรหรือการสมัครใจลงทุนหรือการยอมรับความเสี่ยง หรือไม่ใช่การหลอกลวงเจ้าของทรัพย์สิน แต่เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินไปรับฟังคนอื่นมาเองและส่งมอบให้ผู้ถูกหลอกลวงให้นำมาให้ในนามผู้ถูกหลอกลวงเท่านั้น และไม่ใช่ผู้เสียหายเนื่องจากไม่ใช่ผู้ถูกหลอกลวง หรือทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้หลอกลวงอยู่แล้ว แต่หลอกเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของตนกลับคืนมา เนื่องจากไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือเอกสารที่ทำ ถอน ทำลายนั้นไม่ใช่เอกสารสิทธิ เช่น หนังสือมอบอำนาจ คำขอโอนหรือรับโอนรถยนต์ ใบสั่งซื้อ คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือเป็นเพียงการหลอกให้ถอนแจ้งความหรือถอนฟ้องซึ่งไม่ใช่เอกสารสิทธิ หรือเป็นการรับปากว่าจะทำอย่างไรในอนาคตซึ่งไม่แน่นอน ไม่ได้ปกปิดหรือกล่าวเท็จ และไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามคำรับรองที่จะทำให้อนาคต หรือต่อสู้ว่าไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหรือเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิด หรือไม่มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติตามข้อบังคับหรือการเป็นกรรมการไม่ถูกต้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เป็นต้น  By www.siaminterlegal.com