ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

การดำเนินคดีค้ามนุษย์ ต่อสู้คดีค้ามนุษย์ ทนายคดีค้ามนุษย์ ถูกจับคดีค้ามนุษย์ และวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ทำอย่างไร

             การดำเนินคดีค้ามนุษย์ต้องดำเนินการพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งผู้พิพากษาต้องแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ตามที่ถูกฟ้องหรือไม่  ซึ่งหากเป็นคดีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องจำเลยอาจแถลงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรทราบ และนำมาเป็นข้อมูลในการสั่งคดีไม่มีมูลได้ และจำเลยอาจแถลงถึงตัวบุคคล เอกสารหรือวัตถุที่สนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยได้  ศาลจะทำการเรียกบุคคล เอกสารหรือวัตถุมาเป็นพยานของศาล  ซึ่งศาลจะทำการซักถามพยานเอง  ส่วนโจทก์หรือจำเลยจะซักถามพยานได้แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน

              หากจำเลยให้การรับสภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือคดีที่มีข้อหาความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตลอดชีวิตหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง  และศาลต้องพิจารณาว่าคำรับสารภาพของจำเลยนั้นฟังได้หรือไม่ มีเหตุผลเพียงใด และเชื่อหรือไม่ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง

             ส่วนการอ้างพยานหลักฐานเป็นพยานนั้น คู่ความที่อ้างพยานหลักฐานต้องได้รับความยินยอมจากศาลด้วย  และหากพยานหลักฐานใดศาลเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องหรือไม่สำคัญแล้ว ศาลจะไม่อนุญาตให้คู่ความนั้นนำพยานดังกล่าวเข้าสืบพยานได้

             ในการสืบพยานบุคคลศาลจะแจ้งประเด็นและข้อเท็จจริงที่จะทำการสืบพยานแก่พยานบุคคลที่มาศาลทราบ ไม่ว่าพยานนั้นมาจากคู่ความฝ่ายใดอ้างพยาน หรือเป็นพยานที่ศาลเรียกมาเองก็ตาม  โดยให้พยานเบิกความด้วยตนเอง หรือตอบคำถามศาล  ผู้ซักถามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศาล ทนายโจทก์ ทนายจำเลย อาจใช้คำถามนำแก่พยานบุคคลได้  การถามพยานบุคคลจะไม่มีการซักค้าน และการซักติง  ซึ่งกระบวนการพิจารณาคดีค้ามนุษย์จะแตกต่างจากการพิจารณาอาญาอื่นโดยทั่วไป  By www.siaminterlegal.com