ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ฟ้องคดีฉ้อโกง ฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชน แจ้งความข้อหาฉ้อโกง แจ้งความข้อหาฉ้อโกงประชาชน ทนายต่อสู้คดีข้อหาฉ้อโกง ทนายต่อสู้คดีข้อหาฉ้อโกงประชาชน ข้อแตกต่างข้อหาฉ้อโกงและฉ้อโกงประชาชน อุทธรณ์ฏีกาข้อหาฉ้อโกง อุทธรณ์ฏีกาข้อหาฉ้อโกงประชาชนอย่างไร

                 ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น คือการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน ฯลฯ  ความผิดฐานฉ้อโกงนั้นเป็นความผิดอันยอมความได้ และต้องดำเนินคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด  ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้นเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน เป็นความผิดที่ยอมความกันไม่ได้ตามกฎหมาย และมีโทษหนักกว่าการฉ้อโกงธรรมดา

                 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้นต้องได้ความว่าผู้กระทำมีเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่บคคลทั่วไป ไม่ว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงนั้นจะมีกี่คนก็ตาม  หากการหลอกลวงนั้นไม่มีลักษณะประกาศแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงการหลอกลวงเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล ย่อมไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน  และการแสดงข้อความอันเป็นเท็จอันเป็นการหลอกลวงประชาชนนั้นไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ถูกหลอกลวงว่ามีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดเป็นสำคัญ แต่ให้พิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำว่ามีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือแสดงข้อความเป็นเท็จแก่ประชาชนหรือไม่

                 กรณีความผิดเกิดจากการทราบข่าวการหลอกลวงจากผู้อื่นมาอีกที ต้องดูว่าผู้อื่นที่มาแพร่ข้อความเท็จนั้นได้ทราบข้อความเท็จมาจากการประกาศโฆษณาอันเป็นการทั่วไปของผู้หลวงลวงคนแรกหรือไม่ หากไม่ใช่การทราบมาจากการประกาศโฆษณาอันเป็นการทั่วไป ย่อมเป็นเพียงความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดา เนื่องจากไม่ได้มีเจตนาหลวงหลวงแก่บุคคลหรือประชาชนทั่วไป  แต่เป็นการไปแจ้งกับผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะแล้วบุคคลนั้นไปบอกต่อผู้เสียหายในภายหลังเอง  แต่หากคนแรกมีเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนพลเมืองทั่วไปแล้ว ย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน การที่คนอื่นๆ ไปบอกต่อแม้มีคนเดียวก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

                  ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากหลายคนมองว่าเมื่อมีผู้เสียหายจำนวนหลายคนย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในหลักกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้แจ้งข้อกล่าวหา หรือทนายความที่ใช้สิทธิฟ้องคดี  ผู้ต้องหาหรือจำเลยควรให้การเพิ่มเติมว่าไม่ใช่ความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนด้วยเหตุผลต่างๆ  หรือแต่งตั้งทนายความซักค้านในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพื่อไม่ให้คดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนมีมูลต่อไป  รวมทั้งต่อสู้คดี หรืออุทธรณ์ฏีกาต่อไป  ทั้งนี้การจะเป็นความผิดข้อหาใดย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องเป็นสำคัญ  By www.siaminterlegal.com