ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้จัดการมรดกแอบโอนที่ดินใส่ชื่อตัวเองทำอย่างไร ผู้จัดการมรดกแอบโอนทรัพย์มรดกหนีทำอย่างไร ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินให้คนอื่นแก้ปัญหาอย่างไร ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกอย่างไร ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดก

                ผู้จัดการมรดกมีอำนาจและหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาที่มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย  แต่ผู้จัดการมรดกที่ทุจริตบางคนมักจะใช้วิธีโอนใส่ชื่อผู้จัดการมรดกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในฐานะส่วนตัวมิใช่ในฐานะผู้จัดการมรดก  หลังจากนั้นนำไปโอนต่อให้กับบุคคลอื่นเพื่อแอบเอาเงินคนเดียวโดยไม่แบ่งปันทายาทและบุคคลอื่นที่รับโอนนำไปจำนองต่ออีกที  ปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไร  ซึ่งผู้จัดการมรดกโอนมรดกเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัวนั้น ย่อมไม่มีอำนาจกระทำได้  เนื่องจากไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย  แต่กลับโอนให้ตนเอง  และถือว่าไม่ใช่การจัดการมรดก และการกระทำโดยไม่มีอำนาจดังกล่าวส่งผลให้ผู้จัดการมรดกไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกดังกล่าว  เมื่อผู้จัดการมรดกไม่ได้กรรมสิทธิ์แล้วผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิไปโอนต่อให้บุคคลอื่น  ผู้รับโอนย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกนั้นด้วย  เมื่อไม่มีกรรมสิทธิ์ย่อมไม่มีอำนาจนำไปจำนองต่างๆ ได้ตามกฎหมาย  แม้ผู้รับจำนองกระทำการโดยสุจริตก็ตาม  เนื่องจากมาตรา 1299 วรรคสองนั้นต้องเป็นการโอนโดยผู้โอนที่มีอำนาจโอนก่อนจึงมาพิจารณาต่อไปว่าผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่   แต่ในกรณีนี้เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจโอนเลยและไม่มีกรรมสิทธิ์  ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนอง และฟ้องขอให้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาได้ เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนมา  คดีลักษณะนี้เกิดจากการทุจริตของผู้จัดการมรดกซึ่งเกิดปัญหาดังกล่าวบ่อยครั้ง  ดังนั้นการดำเนินคดีจึงต้องตั้งประเด็นหรือหาช่องทางกฎหมายที่ถูกต้อง และต้องเข้าใจเนื้อหากฎหมายที่จะตั้งประเด็นให้ชัดเจน  การฟ้องผิดประเด็นหรือไม่ถูกต้องย่อมเป็นการยากที่จะได้ทรัพย์มรดกคืน เนื่องจากผู้จัดการมรดกเองก็มีอำนาจตามกฎหมายตามคำสั่งศาลที่จะมีอำนาจในการจัดการมรดกเช่นกัน  การตั้งรูปเรื่องหรือตั้งประเด็นในการฟ้องคดีจึงนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  By www.siaminterlegal.com