ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ทนายเขียนอุทธรณ์ฏีกาคดีฆ่าคนตาย ทนายเขียนอุทธรณ์ฏีกาคดีพยายามฆ่า ทนายเขียนอุทธรณ์ฏีกาคดีทำร้ายร่างกายอย่างไร

                    ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือฐานพยายามฆ่า หรือฐานทำร้ายร้างกายก็ตาม  หากศาลตัดสินลงโทษจำคุกแล้ว จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ หรือเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินก็มีสิทธิฏีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตัดสิน  จำเลยก็ใช้สิทธิในการประกันตัวต่อศาล หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนของการประกันตัวโดยเฉพาะ  ส่วนในเรื่องคดีว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จำเลยต้องใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาต่อไป  โดยวิธีการเขียนอุทธรณ์ฏีกาคดีในลักษณะดังกล่าวให้ได้ผลดีนั้นต้องทราบประเด็นของคดีในลักษณะดังกล่าวเสียก่อน  เพราะคดีอาญามีหลักว่าโจทก์ต้องนำสืบให้สิ้นสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง  ดังนั้นประเด็นที่ศาลตัดสินจึงเป็นประเด็นที่อ้างว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักให้รับฟังโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ฆ่าคนตายหรือทำร้ายร่างกายจริง  ดังนั้นการเขียนอุทธรณ์ฏีกาที่ดีควรต้องเขียนในลักษณะทำลายน้ำหนักของพยานหลักฐานโจทก์ทั้งหมดที่นำสืบมาแล้ว  โดยทนายความต้องอ่านคำเบิกความทั้งพยานโจทก์พยานจำเลย พยานเอกสารต่างๆ  วินิจฉัยลักษณะบาดแผล ลักษณะอาวุธที่ใช้ แสงสว่างในที่เกิดเหตุ มีประจักษ์พยานเพียงไร มีพยานบอกเล่าเพียงไร หรือมีพฤติการณ์ที่เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด  รวมทั้งแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่เคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานไว้ เช่น เขียนทำลายน้ำหนักประจักษ์พยาน หากเป็นพยานเดี่ยวก็เป็นเรื่องความผิดปกติของธรรมชาติ หรือลักษณะการยิง การมองเห็นคนร้าย หรือความขัดแย้งในคำให้การกับคำเบิกความต่างๆ หากเป็นพยานคู่ก็เป็นเรื่องการขัดกันของคำให้การชั้นสอบสวน คำให้การชั้นศาล แสงสว่าง มูลเหตุต่างๆ สีเสื้อผ้า เนื้อตัวร่างกาย หรือความรู้เห็นเหตุการณ์ของพยาน และเขียนในลักษณะพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุ มีเลือดเข้าตามองไม่เห็นชัดเจน ก้มหลบไม่เห็นคนร้าย หรือเหตุการณ์เกิดขึ้นรวดเร็วทันที หรือเครื่องแต่งกายของคนร้าย หรือตามพฤติการณ์ไม่ใช่เจตนาฆ่า  รวมทั้งเขียนให้เห็นพฤติการณ์หลังเกิดเหตุ ลักษณะของการแจ้งความ หรือการให้การต่อพนักงานสอบสวน หรือกรณีอ้างฐานที่อยู่ หรือคำเบิกความของพยานโจทก์เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ ทั้งยังเบิกความขัดกันเอง  โดยประเด็นที่เขียนอุทธรณ์ฏีกาทั้งหมดต้องมุ่งโดยตรงต่อการแสดงความเป็นพิรุธสงสัยและการขัดแย้งกันเองของพยานโจทก์ หรือการเห็นเหตุการณ์หรือคนร้ายที่กระทำความผิด  หากพยานโจทก์ยังไม่ชัดเจนหรือมีข้อสงสัยศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์สถานเดียวและปล่อยจำเลยไป  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และตามนัยแห่งคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2657/2547 และคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 7107/2544   By www.siaminterlegal.com