ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 22 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

จำเลยตายระหว่างดำเนินคดีต่อศาลส่งผลกับคดีในส่วนแพ่งอย่างไร ทนายยื่นคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างไร สิทธิเรียกร้องทางแพ่งทำอย่างไร จำเลยในคดีอาญาไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายทำอย่างไร

                กรณีจำเลยถูกฟ้องคดีอาญาและจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1)  และในกรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ซึ่งเป็นคำขอเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อจำเลยตายคดีอาญาระงับก็ส่งผลทำให้คำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ย่อมตกไปด้วยศาลต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ 

                แต่หากผู้เสียหายยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 นั้น การที่จำเลยตายก็เป็นเพียงทำให้คดีอาญาระงับไปเท่านั้น แต่ไม่มีผลทำให้คำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายตกไปด้วย  ซึ่งในคดีส่วนแพ่งศาลต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 (คู่ความมรณะ) หากครบหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยตายไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนหรือไม่ยอมเข้ามาตามหมายเรียกของศาล ศาลก็จำหน่ายคดีได้

                สำหรับประเด็นของผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งหรือไม่ และโดยวิธีใดต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่าจะใช้วิธีใด ค่าเสียหายดังกล่าวพนักงานอัยการมีอำนาจเรียกแทนอยู่แล้วหรือไม่ หรืออยู่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ และจะให้ทนายความยื่นคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนใดบ้าง คำนวณค่าเสียหายอย่างไร ควรใช้วิธีร้องมาในคดีอาญาหรือไม่ จำเลยนั้นมีทรัพย์สินหรือไม่ หรือมีบุคคลอื่นใดที่ต้องรับผิดร่วมในทางแพ่งด้วยหรือไม่ การร้องไปในคดีอาญาหรือการฟ้องคดีใหม่แบบไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากัน เรื่องทั้งหมดเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเพราะหากวินิจฉัยแนวทางการดำเนินคดีผิดพลาดก็อาจไม่ได้รับการชดใช้หรือทดแทนเยียวยาความเสียหายใดๆ เลย  By www.siaminterlegal.com