ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

แต่งตั้งทนายความเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทำอย่างไร

                ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 กำหนดว่าในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนเองก็ได้

                 สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือสิทธิของผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์  ซึ่งสำหรับคดีอาญานั้นโดยหลักเป็นความผิดที่ต้องการลงโทษแก่เนื้อตัวร่างกายของจำเลยผู้กระทำความผิดโดยให้จำเลยได้หลาบจำเข็ดหลาบ แต่ไม่ได้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินโดยตรง  เพราะฉะนั้นหากจำเลยยอมรับผิดหรือศาลตัดสินว่ามีความผิดจำเลยก็ต้องถูกลงโทษให้เข็ดหลาบ  หากผู้เสียหายได้รับความเสียหายก็ต้องไปว่ากล่าวกันในคดีแพ่งต่างหาก  โดยกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้เสียหายไว้ 2 ทาง คือ ยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา หรือไปฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีต่างหาก  สำหรับการเลือกการดำเนินการอย่างไรนั้นต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง เนื่องจากการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนอาจไม่ใช่เรื่องที่เป็นประโยชน์มากนัก ข้อดีของการยื่นคำร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทนคือประหยัดเวลาการดำเนินคดีแพ่งเพราะดำเนินคดีไปพร้อมกับคดีอาญานั้นๆ และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล  ซึ่งก็ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริง เนื่องจากข้อกรณีมีผู้กระทำผิดในทางแพ่งที่ต้องร่วมกับรับผิดหลายคน แต่อาจเป็นผู้กระทำความผิดอาญาเพียงบางคน การยื่นคำร้องในคดีอาญาทำได้เฉพาะจำเลยในคดีอาญาเท่านั้น หากมีผู้ทำผิดในทางแพ่งหลายคน และจำเลยในคดีอาญาอาจไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึดมาชำระหนี้อย่างนี้ก็ควรเลือกวิธีไปฟ้องคดีแพ่งต่างหากโดยฟ้องผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ร่วมกันรับผิด  ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเลือกวิธีดำเนินการหรือการตั้งประเด็นรูปเรื่องคดีความต่างๆ ล้วนมีความสำคัญ เพราะหากตั้งประเด็นหรือรูปเรื่องผิดแล้วอาจแพ้คดีหรือไม่ได้รับชำระหนี้หรือหมดสิทธิดำเนินคดีได้และมีผลโดยตรงต่อไม่ได้รับการเยียวยาหรือรับชำระหนี้ใดๆ อีกด้วย  By www.siaminterlegal.com