ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 9 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คดีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนคืออะไร และช่องทางการต่อสู้คดีฉ้อโกงประชาชนเป็นอย่างไร

            ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คือ การหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้นไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงมากหรือน้อยเป็นสำคัญ แต่ถือเอาเจตนาในการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการดังกล่าวด้วยตนเองมาตั้งแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกต่อกันเป็นทอดๆ ก็เป็นความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนแล้วตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 5292/2540 

             เมื่อถูกดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนไม่ว่าจะเป็นการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาล ก่อนอื่นผู้ถูกกล่าวหาจะต้องรีบปรึกษาทนายความโดยด่วนที่สุด และเล่าข้อเท็จจริงให้ทนายความทราบเพื่อทำการประมวลข้อเท็จจริงและประเมินแนวทางการต่อสู้คดีให้อย่างถูกต้อง บางกรณีอาจไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โดยอาจเป็นเพียงข้อหาฉ้อโกงธรรมดาซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า หรือเป็นเรื่องทางธุรกิจ หรือไม่ครบองค์ประกอบความผิด หรือไม่ได้กระทำความผิด หรือไม่มีเจตนากระทำความผิด หรือไม่ว่าด้วยเหตุตามกฎหมายใดๆ ก็ต้องให้การปฏิเสธ แต่หากผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาลและต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องก็ต้องแต่งตั้งทนายความเพื่อทำการซักค้านพยานโจทก์ให้เห็นว่าไม่เป็นความผิดอย่างไรต่อไปด้วย หากปล่อยให้คดีมีมูลนอกจากจะทำให้เกิดความยุ่งยากแก่กระบวนการยุติธรรมแล้วยังเกิดปัญหาทำให้ต้องตกเป็นจำเลยและต้องมีการประกันและต้องมาศาลทุกนัดหรือสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณากันต่อไปอีกด้วย  By www.siaminterlegal.com