ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 10 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คดีต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา

             เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจในผลของคำพิพากษาก็ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ฏีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องพิจารณาก่อนว่าเข้าข่ายการต้องห้ามยื่นอุทธรณ์ฏีกาหรือไม่ คือ

            1. ห้ามอุทธรณ์ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะรับรองให้อุทธรณ์ หรือจำเลยอุทธรณ์ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด (มาตรา 193 ทวิ และ 193 ตรี)

            2. คดีที่ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ  ถ้าลงโทษจำคุกเกิน 5 ปี ห้ามโจทก์ฝ่ายเดียว เว้นแต่รับรองให้ฏีกา (มาตรา 218 และมาตรา 221)

            3. คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษไม่เกินนี้ เว้นแต่จะรับรองให้ฏีกา หรือจำเลยฏีกาในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย (มาตรา 219 และมาตรา 221)

            4. คดีที่ฏีกาคัดค้านแต่ปัญหาเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างเดียว (มาตรา 219 ทวิ)

            5. คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษเกี่ยวกับการกักขังทุกชนิด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (มาตรา 219 ตรี)

            6. คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง เว้นแต่รับรองให้ฏีกา (มาตรา 220 และมาตรา 221)

            แม้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกาแต่ก็ยังมีช่องทางที่จะอุทธรณ์ฏีกาได้โดยทนายความที่มีประสบการณ์จะร่างคำฟ้องอุทธรณ์ฏีกาไม่ให้เข้าลักษณะการต้องห้าม และหรือใช้วิธีการขอให้รับรองอุทธรณ์หรือฏีกาประกอบด้วย  ดังนั้นการเขียนอุทธรณ์ฏีกาจึงนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องใช้ทักษะความรู้อย่างมากเนื่องจากจะเป็นสิ่งบ่งชี้อนาคตของจำเลยว่าจะต้องถูกพิพากษาลงโทษหรือไม่  By www.siaminterlegal.com