ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ถูกแจ้งความหรือฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายทำอย่างไร

                   เมื่อเกิดเหตุทำร้ายร่างกายกันขึ้นต้องดูว่าลักษณะการกระทำและบาดแผลที่ได้รับว่าจะเป็นความผิดฐานใด หากเลือดไม่ออกเพียงแต่ฟกช้ำก็จะเป็นความผิดลหุโทษ หากเลือดออกก็ผิดฐานทำร้ายร่างกาย หากเข้าเหตุอื่นๆ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น รักษาเกิน 20 วัน หรือแขน ขาขาด เป็นต้น ก็เป็นความผิดฐานทำร้ายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส  ซึ่งแต่ละฐานความผิดก็มีความหนักเบาของโทษแตกต่างกันไป  โดยหากเกิดเหตุขึ้นแล้วผู้เสียหายจะไปแจ้งความ หรือให้ทนายความฟ้องคดีโดยตรงต่อศาลก็ได้  กรณีแจ้งความเจ้าพนักงานตำรวจจะออกหมายเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหา และทำการสอบสวนต่อไป หากฟ้องคดีที่ศาล ศาลจะนัดไต่สวนมูลฟ้อง โดยพิจารณาว่าคดีมีมูลที่จำเลยกระทำความผิดหรือไม่ ทนายความจำเลยก็มีหน้าที่ต้องซักค้านพยานโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดอย่างไร หรือมีเหตุไม่เป็นความผิด หรือเหตุลดโทษอย่างไร  หรือฐานความผิดที่นำมาฟ้องนั้นไม่ครบองค์ประกอบความผิดอย่างไรบ้าง หากศาลเห็นพ้องด้วยอาจมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องไว้พิจารณา หรือยกฟ้องไปเลยแล้วแต่กรณี  ความผิดฐานทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเป็นนับแต่ปัญหาใกล้ตัวอย่างมาก การจะแก้ไขและเลือกวิธีการดำเนินคดีอย่างไรขึ้นอยู่กับการวางแผนของทนายความ หากวางแผนหรือดำเนินคดีผิดพลาดก็อาจติดคุกได้เช่นเดียวกัน ส่วนการรับสารภาพต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละคดีด้วย การรับสารภาพไม่ได้เกิดผลดีเสมอไป แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียในเชิงคดีได้ ปัญหาที่สำคัญอีกกรณีหนึ่งคือถูกเจ้าพนักงานตำรวจพูดจากล่อมให้ยอมรับผิดทั้งที่การกระทำไม่เป็นความผิด หรือเป็นการป้องกันตัวเอง หรือมีเหตุลดโทษอย่างอื่น หรือไม่ได้กระทำความผิดเลย โดยกล่าวอ้างว่าจะได้ลดโทษหรือศาลลงโทษสถานเบาหรือให้คำมั่นสัญญาต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากอุทธาหรณ์ที่เกิดขึ้นจริงทั้งสิ้น ดังนั้นการเลือกวิธีการดำเนินคดีที่ถูกต้องและก่อให้เกิดผลดีแก่จำเลยต้องมีวิธีการคิดที่มีเหตุมีผลและจากการจัดการบริหารคดีที่ถูกต้องด้วย  By www.siaminterlegal.com