ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนร้ายลักทรัพย์ทั้งที่ไม่ได้ทำผิดจะทำอย่างไร

              เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อไม่นานมานี้ คือ เจ้าของทรัพย์เป็นนายจ้างกล่าวหาลูกจ้างว่างัดแงะตู้และเอาเงินไปหลายหมื่นบาท ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือลูกจ้างคนดังกล่าวได้ลาออกไปก่อนแล้วก่อนเกิดการกระทำความผิด นายจ้างกล่าวอ้างว่ามีกล้องวงจรปิดจับภาพขณะกำลังลักทรัพย์ แต่แท้จริงในสถานที่ดังกล่าวไม่มีการติดตั้งกล้องแต่อย่างใด มีเพียงกล้องวงจรปิดภายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น นายจ้างไปแจ้งความมีการสอบสวนจนปัจจุบันมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ปัญหาคือจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ซึ่งอุทธาหรณ์เรื่องนี้อาจเคยเกิดขึ้นกับหลายท่านหรืออาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งด้วยอำนาจเงินและบารมีของนายจ้างซึ่งส่วนมากจะมีกำลังพอที่จะกล่าวหาใครก็ได้ ส่วนฝ่ายลูกจ้างก็หาเช้ากินค่ำไม่มีอำนาจไปต่อรองอะไรได้ ส่วนมากก็จะถูกกล่อมให้รับสารภาพและติดคุกในที่สุด เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นการถูกตั้งข้อหาว่าลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกันและลักทรัพย์ในเวลากลางคืนก็เป็นบทฉกรรจ์หนักขึ้นอีก  วิธีการที่ต้องแก้ไขคือต้องพิจารณาก่อนว่าได้ทำผิดจริงหรือไม่ และคดีมีพยานหลักฐานมากน้อยอย่างไร  ในระหว่างการถูกกล่าวหาผู้ต้องหาอาจถูกไกล่เกลี่ยหรือกล่อมเพื่อให้การรับสารภาพไม่ว่าจากนายจ้าง หรือทนายความของนายจ้าง ฝ่ายบุคคล เจ้าพนักงานตำรวจ และอื่นๆ โดยเหตุผลว่าจะทำให้โทษหนักกลายเป็นเบา คำว่ากลายเป็นเบานั้นไม่ใช่ไม่ติดคุกเพียงแต่ลดโทษติดคุกลงเท่านั้น และปัญหามันไม่ได้จบสิ้นแค่นั้นเพราะผู้เสียหายจะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่างๆ หรืออัยการขอให้คืนราคาทรัยพ์สินที่ลักไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการไม่ได้ทำผิดแต่เลือกวิธีการดำเนินคดีผิดพลาดก็อาจจะต้องทนทุกข์ทรมานจากสิ่งที่ไม่ได้ทำ หากไม่ได้ทำผิดและพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ก็ไม่หนักแน่นต้องให้การปฏิเสธทันที และไม่ยอมลงชื่อให้เอกสารการยอมรับสภาพหนี้หรือเอกสารการประนีประนอมยอมความหรือการผ่อนชำระหนี้ทั้งสิ้นเพราะหมายถึงท่านยอมรับว่าทำผิดจริง เนื่องจากข้อหาลักทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ และหากนายจ้างใส่ร้ายจำเลยฝ่ายนายจ้างเองก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จเช่นกัน By www.siaminterlegal.com