ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ความผิดข้อหาลักทรัพย์ติดคุกกี่ปี และช่องทางต่อสู้คดีลักทรัพย์ทำอย่างไร

                 ความผิดข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 กำหนดว่าผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท  ซึ่งความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความกันได้ตามกฎหมาย  ดังนั้นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักขโมยไปก็มีสิทธิไปแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดี หรือจะแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีต่อศาลเลยก็ได้หากเห็นว่าการดำเนินการของเจ้าพนักงานตำรวจจะเกิดความล่าช้าไม่ทันกาล หรือเกรงว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงไปตรงมา หรือมีแนวโน้มที่จะมีความเห็นไม่ควรสั่งฟ้องคดีก็ตาม  สำหรับในส่วนของผู้ต้องหาหรือจำเลยก็สามารถให้การหรือไม่ให้การใดๆ กับตำรวจก็ได้ตามกฎหมาย หรือในกรณีที่ทนายฟ้องคดีเองผู้ต้องหาหรือจำเลยก็สามารถแต่งตั้งทนายความเข้าซักค้านพยานโจทก์เพื่อให้คดีไม่มีมูลและศาลไม่ประทับฟ้องไว้พิจารณาได้ สำหรับประเด็นการต่อสู้คดีข้อหาลักทรัพย์นั้นหากเห็นว่าตนเองถูกปรักปรำใส่ร้ายว่าเป็นผู้กระทำความผิดทั้งที่ตนเองไม่ได้กระทำความผิดหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการกระทำความผิดก็ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่างๆ ในคดีให้ถี่ถ้วน เช่น พยานเอกสาร ประจักษ์พยานหรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ รวมทั้งพฤติการณ์แวดล้อมต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงบางคดีเป็นเรื่องการคาดเดาว่าจำเลยน่าจะเป็นคนทำผิดทั้งที่ไม่มีใครรู้เห็นเหตุการณ์ การถูกปรำปรักใส่ร้าย หรือการหาตัวบุคคลรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น ดังนั้นการวางแผนคดีที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและส่งผลทำให้ผลของคดีออกมาในทิศทางที่ดีตามไปด้วย  By www.siaminterlegal.com