ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 9 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

วิธีเรียกค่าเสียหายจากกรณีบ้านทรุดโดยวิธีการรื้อถอนปลูกสร้างใหม่หรือการดีดยกบ้าน รวมทั้งประเด็นการอุทธรณ์ฏีกาคดีก่อสร้าง คดีเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้าง

                    ปัญหาคดีก่อสร้างโดยทั่วไปมีหลายลักษณะ เช่น ก่อสร้างไม่เรียบร้อย มีความชำรุดบกพร่อง ก่อสร้างล่าช้า การก่อสร้างทำให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ข้างเคียง หรือปัญหาดินไหลจากการขุดดินใกล้พื้นที่โดยไม่มีเครื่องมือป้องกันการไหลของดิน ปัญหาเรื่องเสียงการก่อสร้าง ปัญหาเรื่องแรงสั่นสะเทือนทำให้บ้านแตกร้าว ปัญหาการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าใกล้ชิดแนวเขต ปัญหาเสียง ฝุ่น และความร้อนจากคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศของอาคาร เป็นต้น  ซึ่งแต่ละกรณีต้องไปว่ากล่าวหรือฟ้องร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง เช่น ละเมิด การใช้สิทธิเกินส่วน หรือการร้องเรียนต่อสำนักงานเขตที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 

                    ปัญหาที่สำคัญของคดีมักเกิดจากภาระการพิสูจน์หรือนำสืบพยานของฝ่ายผู้ได้รับความเสียหายว่าจะมีพยานหลักฐานหนักแน่นเพียงพอหรือไม่  ซึ่งคดีละเมิดทั่วไปศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายได้ตามความเหมาะสม  แต่ก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้ศาลพิพากษากำหนดตัวเลขค่าเสียหายน้อยเกินสมควร  ผู้ได้รับความเสียหายจึงใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาต่อไป  การเขียนอุทธรณ์หรือฏีกานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่จะชี้ให้ศาลเห็นว่าผู้เสียหายต้องได้รับการเยียวยาความเสียหายอย่างไร  และควรมีจำนวนค่าเสียหายเท่าใด  เช่น ศาลอาจเห็นว่าวิธีการซ่อมแซมอาจไม่ต้องขึ้นขั้นต้องรื้อถอนและสร้างใหม่  หรือจะเพียงแค่ใช้วิธีการดีดบ้านก็เพียงพอ  ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าความเสียหายมันเกิดขึ้นตรงไหน โครงสร้างแตกร้าว หรือฐานรากทรุด เสาเข็มเอียง วัสดุโครงสร้างเป็นวัสดุชนิดเดียวกันหรือไม่ การดีดบ้านมีวิธีการทำอย่างไร หรือต้องรื้อถอนแล้วสร้างใหม่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายของทั้งสองกรณี บ้านหรืออาคารดังกล่าวมีคุณค่าทางจิตใจหรือสมควรอนุรักษ์อย่างไร วัสดุอุปกรณ์เดิมสามารถหาได้ในปัจจุบันอีกหรือไม่ ราคาค่าก่อสร้างมีงานและค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้าง มีผู้รับรองหรือยืนยันพยานหลักฐานหนักแน่นเพียงไร การกระทำของผู้ทำละเมิดทำไปถูกต้องตามแบบหรือไม่ และมีวิธีการป้องกันความเสียหายอย่างพอเพียงหรือไม่ ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นการสนับสนุนข้อกล่าวอ้างมีเพียงไร  การตรวจสอบยืนยันโดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตมีเพียงไร  เอกสารราชการหรือหน่วยงานเอกชนที่น่านับถือมีเพียงไร วิธีการหรือปกติประเพณีของธุรกิจก่อสร้างเป็นอย่างไร การโต้แย้งหรือการสงวนสิทธิต่างๆ มีพอเพียงหรือไม่  ปัญหาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญของการพิจารณาคดีก่อสร้าง การเขียนอุทธรณ์คดีก่อสร้าง การเขียนฏีกาคดีก่อสร้าง รวมทั้งดุลพินิจการกำหนดค่าเสียหายของศาลทั้งสิ้น  By www.siaminterlegal.com