ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

หลักเกณฑ์การขอให้รอการลงโทษจำคุก วิธีทำให้รอการลงโทษจำคุก วิธีทำคำร้องประกอบคำรับสารภาพเพื่อให้ไม่ต้องโทษจำคุกทำอย่างไร

           ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56  กำหนดเงื่อนไขและวิธีการที่ศาลจะพิพากษาคดีในกรณีมีเหตุอันควรปราณีและเพื่อให้โอกาสจำเลยในการกลับตัวเป็นพลเมืองดีไว้  แต่หลักการดังกล่าวมีวิธีการและการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อศาลโดยทนายความที่มีความรู้ความชำนาญในการนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามหลักการของกฎหมายดังกล่าวเพื่อหวังผลทำให้ศาลให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป โดยมีเงื่อนไขประกอบด้วย

           1. เป็นความผิดที่มีโทษจำคุก หรือปรับ และคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าศาลจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม  หรือซึ่งถ้าจำเลยถูกฟ้องหลายกรรมหลายกระทงในสำนวนเดียวกันก็จะต้องพิจารณาแยกเป็นรายกระทงไป  แต่ละกระทงศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ก็รอการลงโทษได้  แม้ทุกกรรมทุกกระทงรวมกันจะเกิน 5 ปีก็รอได้

          2. ต้องไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน  หรือเคยรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ซึ่งต้องเป็นโทษจำคุกจริงๆ ถ้าคดีก่อนศาลเคยรอการลงโทษให้มาแล้ว ก็ยังอยู่ในหลักเกณฑ์ที่รอการลงโทษให้อีกได้ หรือกล่าวง่ายๆ คือ รอแล้วรออีกก็รอได้  แต่ถ้าถูกจำคุกเกิดจากความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษก็สามารถรอการลงโทษได้

          3. เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปีแล้วมากระทำความผิดอีกโดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

          3. ศาลต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษา เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดี  โดยศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตามมาตรา 56 (1)-(10) หรือไม่ก็ได้

          4. ศาลคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา อบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของจำเลย สภาพความผิด การรู้สึกความผิด การพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือมีเหตุอื่นอันควรปราณี

           การนำเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบและเพื่อให้ศาลรอการลงโทษไว้  โดยวิธีการจัดทำคำร้องประกอบคำรับสารภาพ และแนบพยานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบรรยายคำร้องให้ชัดแจ้งถึงเหตุองค์ประกอบของกฎหมายในแต่ละส่วน  และการกำหนดโทษของศาลนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยตรงจึงจำต้องมีการตระเตรียมเอกสารให้ดีก่อนถึงวันนัดตัดสิน  เช่น คดีที่ถูกจับและสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนเมื่อเป็นการรับสารภาพคดีจึงเป็นไปโดยรวดเร็วจำต้องรีบจัดเตรียมเอกสารก่อนวันส่งตัวไปศาล เพราะศาลอาจตัดสินคดีในวันดังกล่าวทันที  และไม่มีโอกาสจัดเตรียมเอกสารได้ทัน  หรือกรณีรับสารภาพชั้นศาลก็ต้องรีบดำเนินการเช่นเดียวกัน หรือหากเลวร้ายที่สุดกรณีดำเนินการไม่ทัน เมื่อศาลตัดสินให้จำคุกแล้วก็ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน และสามารถเขียนอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษอีกก็ได้เช่นเดียวกัน  By www.siaminterlegal.com