ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 17 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ขออนุญาตฏีกาคดีแพ่ง วิธีการดำเนินการยื่นฏีกาคดีแพ่ง ทนายทำฏีกาคดีแพ่งอย่างไร

                   ในปัจจุบันเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วให้คดีเป็นที่สุด  และจะยื่นฏีกาต่อไปไม่ได้  เว้นแต่จะฏีกาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฏีกาเท่านั้น  ซึ่งการขออนุญาตฏีกาต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฏีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนี้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องพร้อมคำฟ้องฏีกาดังกล่าวไปยังศาลฏีกาต่อไป  และศาลฏีกาจะพิจารณาอนุญาตให้ฏีกาได้หากเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฏีกาควรวินิจฉัย หรือปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฏีกา  หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฏีกามาก่อน  หรือเมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น  หรือเพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย  หรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นตามข้อกำหนดของประธานศาลฏีกา

                  ดังนั้น การใช้สิทธิฏีกาตามกฎหมายจึงต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วยมิเช่นนั้นจะส่งผลทำให้ศาลสั่งไม่รับฏีกาและเกิดความเสียหายได้  นอกจากนี้การบรรยายคำร้องให้เข้าองค์ประกอบของเงื่อนไขดังกล่าวก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะให้ศาลมีคำสั่งรับฏีกาของผู้ฏีกาต่อไป By www.siaminterlegal.com