ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

หลักการของทนายความในการอุทธรณ์ฏีกาคดีรับของโจรและช่องทางต่อสู้คดีข้อหารับของโจรเป็นอย่างไร

                   ความผิดข้อหารับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 นั้น ประเด็นสำคัญอันหนึ่งคือจะต้องได้ความว่าผู้กระทำความผิดต้องรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่มาจากการกระทำความผิดฐานต่างๆ ในขณะที่รับไว้ด้วย  และเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความเช่นนั้นด้วย  หากไม่มีข้อเท็จจริงปรากฎชัดเจนว่าในขณะรับทรัพย์ไว้ได้รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความฐานต่างๆ ตามมาตรา 357 ย่อมขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นความผิดเลย  ซึ่งประเด็นเรื่องการรู้หรือไม่นั้นเป็นประเด็นในการต่อสู้คดีข้อหารับของโจรที่สำคัญ และเป็นประเด็นในการเขียนอุทธรณ์ฏีกาด้วย  โดยในเรื่องการรู้ดังกล่าวของผู้กระทำความผิดศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีเป็นสำคัญ เช่น เรื่องของราคาทรัพย์นั้นว่ารับซื้อไว้ในราคาต่ำหรือไม่ มีการเก็บซุกซ่อนหรือซ่อนเร้นทรัพย์หรือไม่ มีลักษณะการใช้ทรัพย์อย่างไร ใครเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย มีความสามารถในการนำทรัพย์มาขายเพียงไร มีการแก้ไข ดัดแปลง ลบ เพิ่มเติมทรัพย์หรือไม่ มีเอกสารประจำตัวทรัพย์หรือไม่ มีการตรวจสอบแหล่งที่มาของทรัพย์หรือไม่ มีการแยกชิ้นส่วนหรือไม่ ลักษณะอาชีพของผู้ซื้อผู้ขายทรัพย์ชนิดนั้น จำนวนทรัพย์สิน พฤติการณ์การได้รับทรัพย์สินนั้นมาเป็นอย่างไร เป็นต้น  ดังนั้นการนำสืบพยานโจทก์หรือนำสืบพยานตามข้อต่อสู้ต่างๆ ในฐานะจำเลยต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ประกอบด้วยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดหรือไม่ และศาลฏีกาเคยมีคำวินิจฉัยและคำพิพากษาที่เคยตัดสินไว้อย่างไรประกอบด้วย เพราะหากไม่ได้เจตนากระทำผิดแล้วก็ควรต่อสู้คดีหรือยื่นอุทธรณ์ฏีกาให้ถูกต้องถูกหลักการด้วย  หากต่อสู้คดีไม่ถูกทางที่ควรจะเป็นหรือนำเสนอข้อเท็จจริงไม่ถูกทางหรือเขียนอุทธรณ์ฏีกาไม่ตรงประเด็นก็อาจเกิดผลเสียแก่คดีได้  By www.siaminterlegal.com