ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

การยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฏีกาคดีอาญา

            เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วผู้ที่แพ้คดีไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลยหากไม่พอใจในผลของคำพิพากษาก็สามารถมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่ศาลชั้นต้นพิพากษา  หรือหากเป็นกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วโดยจะให้ศาลชั้นต้นเป็นคนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นคู่ความที่ไม่พอใจในผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ย่อมยื่นฏีกาต่อไปด้วยหากเข้าเงื่อนไขในการยื่นฏีกา  โดยในคดีอาญาหากศาลตัดสินให้ลงโทษจำเลยก็ต้องทำเรื่องประกันตัวชั้นอุทธรณ์ หากไม่พอใจทนายความเดิมก็สามารถเปลี่ยนทนายความได้ และต้องยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาต่อศาลภายในหนึ่งเดือน  สำหรับการเขียนอุทธรณ์หรือฏีกาก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากทางนำสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหมด และอ้างอิงหลักกฎหมายหรือคำพิพากษาศาลฏีกาที่เคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานประกอบด้วย เนื่องจากศาลอุทธรณ์และศาลฏีกามักจะตัดสินไปในแนวทางเดียวกันกับที่คดีอื่นๆ วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน  อีกทั้งการเขียนอุทธรณ์หรือเขียนฏีกานับเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ด้านกฎหมายอย่างมากเนื่องจากสำวนหรือวลีในการเขียนต้องชัดเจน สละสลวย และเฉียบขาดมุ่งโดยตรงให้ศาลสูงเห็นและคล้อยตามเหตุผลของผู้อุทธรณ์หรือผู้ฏีกา นอกจากนี้เนื่องจากเป็นคดีอาญาผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกล้วนเดือดร้อนวุ่นวายใจว่าตนเองจะหลุดพ้นคุกตะรางหรือไม่ ดังนั้นการเขียนอุทธรณ์หรือเขียนฏีกาจึงเป็นเหตุผลสำคัญของการต่อสู้คดี  By www.siaminterlegal.com