ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

เขียนอุทธรณ์คดีแพ่งอย่างไรให้ชนะคดี

เขียนอุทธรณ์คดีแพ่งอย่างไรให้ชนะคดี

              การยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นให้ยื่นต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น และต้องมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกินกว่าห้าหมื่นบาทขึ้นไป  เว้นแต่  เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท(ป.วิ.พ.มาตรา 224) อีกทั้งยังจะต้องเป็นเรื่องที่ได้เคยยกขึ้นว่ากล่าวกันมาชอบโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วย (ป.วิ.พ.มาตรา 225) 

              การเขียนและเรียงคำฟ้องอุทธรณ์นั้นนับว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งและใช้ฝีมือมาก   โดยทนายที่มีประสบการณ์มากๆ  มักจะใช้ถ้อยคำ  วลี สำนวนที่เป็นภาษาด้านกฎหมายในการเรียงฟ้องอุทธรณ์  และมีการเน้นคำหรือโน้มน้าวให้เห็นข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี  และในขณะเดียวกันก็จะเป็นการทำลายน้ำหนักหรือข้ออ้างอิงของคู่ความฝ่ายตรงข้ามไปด้วยในตัว  โดยจะอธิบายให้เห็นหลักกฎหมายและปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายดังกล่าวให้กระจ่างและเห็นแนวทางว่าคำตัดสินนั้นไม่ชอบด้วยความเห็นพ้องอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรด้วยหลักเกณฑ์และเหตุผลอย่างไรทั้งสิ้นทั้งปวง  อีกทั้งยังเทียบเคียงกับแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่เคยตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐานประกอบหรืออ้างอิงไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณีจะได้นำไปค้นคว้าและนำมาประกอบการเขียนคำพิพากษา  ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศไทยหากมีคำพิพากษาศาลฏีกาเคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วคดีต่อๆ มาก็ล้วนจะตัดสินไปในแนวทางด้วยกันทั้งหมด                                                                            

              ดังนั้นหลักการเขียนอุทธรณ์ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องใช้ความรู้ด้านกฎหมายและประสบการณ์เฉพาะตัวของทนายความแต่ละคนโดยแท้  รวมทั้งการใช้ถ้อยคำ วลี สำนวนให้สละสลวยมุ่งโดยตรงต่อน้ำหนักการรับฟังของศาลหรือผู้อ่านด้วย  ซึ่งผู้อุทธรณ์จะใช้ทนายความคนเดิมหรือแต่งตั้งทนายความคนใหม่ในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ก็ได้ทั้งสิ้น   By www. siaminterlegal.com