ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ศาลไม่ให้ประกันตัวจะทำอย่างไร และเขียนอุทธรณ์อย่างไรให้ศาลปล่อยตัว

                กรณีผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีและมีการฝากขังผู้ต้องหาที่ศาล หรือกรณีพนักงานอัยการฟ้องคดีต่อศาลและศาลออกหมายขังจำเลย หรือกรณีผู้เสียหายฟ้องคดีเองและมีการไต่สวนมูลฟ้องจนคดีมีมูลและศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว กรณีดังกล่าวทั้งหมดจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาล หากจำเลยไม่อยากถูกจองจำระหว่างการพิจารณาคดีก็ต้องยื่นประกันตัวหรือทางกฎหมายเรียกว่าขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยการใช้เงินสดมาวาง หรือใช้หลักทรัพย์อื่นมาวาง หรือมีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์ โดยการพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวศาลจะพิจารณาเกี่ยวกับความหนักเบาแห่งข้อหา พยานหลักฐานที่ปรากฎแล้ว พฤติการณ์แห่งคดี ความเชื่อถือของผู้ขอประกันหรือหลักประกัน ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือไม่ ภัยอันตรายหรือความเสียหายอันเกิดจากการปล่อยตัว คำคัดค้านพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหายประกอบด้วย  และหากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จะไปก่อเหตุอันตรายอื่น ผู้ขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ หรือจะเกิดความเสียหายแก่การสอบสวนหรือการดำเนินคดีศาลก็จะสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว 

              เมื่อศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ร้องมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ได้ทันทีภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่ง หรือหากเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตผู้ร้องมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฏีกาได้ทันทีภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันที่ศาลอุทธรณ์อ่านคำสั่ง  และคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นถือเป็นที่สุด แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ใหม่แล้วแต่กรณี

             การเขียนและเรียงอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยตัวชั่วคราวนั้นนับว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งและใช้ฝีมือมาก   โดยทนายที่มีประสบการณ์มากๆ  มักจะใช้ถ้อยคำ  วลี สำนวนที่เป็นภาษาด้านกฎหมายในการเรียงฟ้องอุทธรณ์  และมีการเน้นคำหรือโน้มน้าวให้เห็นข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการปล่อยตัวชั่วคราว    ดังนั้นหลักการเขียนอุทธรณ์ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องใช้ความรู้ด้านกฎหมายและประสบการณ์เฉพาะตัวของทนายความแต่ละคนโดยแท้  รวมทั้งการใช้ถ้อยคำ วลี สำนวนให้สละสลวยมุ่งโดยตรงต่อน้ำหนักการรับฟังของศาลหรือผู้อ่านด้วยเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเสรีภาพและการถูกจองจำในเรือนจำ  ซึ่งผู้อุทธรณ์จะใช้ทนายความคนเดิมหรือแต่งตั้งทนายความคนใหม่ในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยตัวชั่วคราวก็ได้ทั้งสิ้น   By www. siaminterlegal.com